วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557


งานวิจัย : ศึกษาการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยอภิชาต พงษ์สวัสดิ์




บทคัดย่อ

                   การวิจัยเรื่อง การต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงหลักเกณฑ์และกระบวนการให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย และเพื่อทราบถึงผลดีผลเสียในแนวทางการได้มาซึ่งสัญชาติไทย
                         จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ศึกษา ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนจำนวนมากโดยแบ่งผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้จำนวน 4กลุ่มด้วยกันดังนี้
                         1. ผู้ที่ตกสำรวจ คือ กลุ่มบุคคลที่มีถิ่นฐาน มีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นคนที่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ไม่ได้เข้าร่วมการสำรวจทางทะเบียนราษฏรเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๙๐  บุคคลกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นบุคคลผู้สูงอายุ
                         2. ผู้อพยพ (ลาวอพยพ) คือ กลุ่มบุคคลที่มีถิ่นฐานเดิมในประเทศเพื่อนบ้านและหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันยังไม่ได้รับการรับรองทางทะเบียนจากรัฐใดในโลก
                         3. ผู้ที่ไม่ได้แจ้งเกิดตามกฎหมาย คือ กลุ่มบุคคลที่มีพ่อหรือแม่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย แต่ไม่ได้แจ้งเกิดตามกฎหมายไทย
                         4. คนไร้รากเหง้า คือ กลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบแหล่งที่เกิดหรือที่อยู่อาศัยเดิมของบรรพบุรุษ หรือไม่สามารถระบุตัวตนของพ่อและแม่ได้แต่อย่างใด
                         จากปัญหาของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนในพื้นที่ ทำให้เกิดกลุ่มเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยและสิทธิต่างๆที่ควรได้รับตามกฎหมาย เมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลผสานกับการวิเคราะห์บริบทของปัญหาร่วมกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องพบว่า บุคคลทั้ง4 กลุ่มมีความต้องการสัญชาติไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ อาทิเช่น สิทธิการอยู่อาศัยในประเทศไทย สิทธิการเข้ารับการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิการประกอบอาชีพ เป็นต้น จึงได้มีการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาสู่ภาครัฐและแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งในเชิงประเด็นข้อกฎหมายและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ จากการศึกษาผู้วิจัยจึงจัดทำข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้ เห็นว่ารัฐไทยควรเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนได้มีพื้นที่ในการนำเสนอปัญหาข้อเสนอแนะ และรัฐไทยควรรับฟังและมีกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ โดยจัดให้มีกระบวนพิสูจน์สัญชาติที่ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนเข้าถึงได้อย่างสะดวกและไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใดๆ และผลักดันให้มีกฎหมายรองรับผู้ที่อาศัยในประเทศไทยเป้นเวลานานแล้วได้รับสัญชาติไทย ส่วนกลุ่มบุคคลที่ยังไม่สามารถพิจารณาให้สัญชาติไทยได้ในระยะเวลานี้ รัฐไทยจะต้องให้การคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนและให้บุตรหลานมีโอกาสเข้ารับการศึกษา และการรักษาพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ รวมถึงชะลอการส่งตัวบุคคลที่
ไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติใดๆในโลกนี้ได้ไปยังประเทศใดประเทศหนึ่ง

บทที่1
บทนำ
                      
1.1ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ตามที่ที่ประชุมคณะสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ สมัยที่ 3 ได้มีมติรับรองปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก  และเป็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปฏิญญาสากลว่ าด้วยสิทธิมนุษยชนถือเป็นมาตรฐาน ที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันจัดทำเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่ วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่สิบแปดประเทศแรกที่ลงคะแนนเสียงร่วมรับรองปฏิญญาฉบับนี้ในการประชุมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเนื่องในโอกาสการครบรอบ 60 ปี ของการรับรองปฏิญญาสากลว่ าด้วยสิทธิมนุษยชน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2551 ประเทศไทยได้ร่วมกับประชาคมโลกในการฉลองวาระสำคัญดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนได้รับทราบ โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองซึ่งไม่ควรถูกละเมิด และการเคารพสิทธิของผู้อื่นซึ่งจะช่วยส่งเสริมสันติสุขภายในสังคม  
ซึ่งปฏิญญาสกลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ฉบับนี้ได้กำหนดในข้อ 15 ว่าบุคคลต้องมีสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง นั้นหมายความว่า บุคคลทุกคนย่อมต้องได้รับการรับรองจากรัฐใดรัฐหนึ่งให้ตนเองได้ถือสัญชาติตามกฎหมายของรัฐนั้น เพื่อที่บุคคลนั้นได้จะได้รับสวัสดิการพื้นฐานและการดูแลจากรัฐเจ้าของสัญชาติชาติรวมถึงประพฤติปฏิบัติกับบุคคลนั้นอย่างเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย
ในปัจจุบันสังคมไทยไทยยังมีผู้ไร้สถานะทางทะเบียนเป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน  และคนไร้สัญชาติ มาโดยตลอดหลายสิบปี ที่ผ่านมาก็ไม่สามารถ แก้ไขปัญหาให้ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยหมดไปได้ และบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนก็ไม่สามารถที่จะได้รับสิทธิหรือการปฏิบัติจากรัฐไทยแต่อย่างใด อย่างเช่นสิทธิขั้นพื้นฐาน อาทิเช่น สิทธิในการเดินทาง สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการรับบริการรักษาพยาบาล เป้นต้น ทำให้คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันเป้นอย่างมาก การเดินทางไปทำมาหากินประกอบอาชีพในต่างถิ่นเพื่อแสดงว่าหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตก็ทำไม่ได้ รวมถึงบุตรหลานของคนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนก็ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐไทยไม่รับรองการให้สัญชาติตามกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกมากมาย  จนทำให้ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการไม่มีสัญชาติไทย และเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการหรือมีแนวทางช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ได้รับสัยชาติไทยได้อย่างไร ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนบางกลุ่มจึงได้รวมตัวกันต่อสู้ในประเด็นทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องสิทธิในสิ่งตนเองควรได้รับ บางกลุ่มได้ใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย เช่น การให้สินบนเจ้าหน้าที่ บางกลุ่มได้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาคเอกชน อาทิเช่น มูลนิธิ สมาคม เป็นต้นเพื่อให้เข้ามาข่วยเหลือแก้ไขปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียน
จากสภาพปัญหาและข้อมูลข้างต้น ทำให้ทราบว่าสหประชาชาติได้ให้การรับรองให้บุคคลทุกคนในรัฐได้รับรองการรับรองและให้มีสัญชาติตามกฎหมายของรัฐใดรัฐหนึ่ง ได้และได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกันในทางกฎหมาย ประกอบกับประเทศไทยได้รับรองให้การรับรองปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้แล้ว จึงถือว่าเป็นภาคีสมาชิกที่ต้องปฏิบัติตาม และจะต้องออกกฎหมายและวิธีการมาเพื่อรองรับให้ผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้รับสัญชาติ และเข้าถึงโอกาสในการพิสูจน์สัญชาติอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม  แต่จากสภาพข้อเท็จจริงมีผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย แม้จะเกิดหรืออาศัยในเมืองไทยมานานหลายสิบปี และรัฐก็ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้ได้พิสูจน์สัญชาติสัญชาติได้ ทำให้บุคคลเหล่านี้ได้รวมตัวกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิการได้สัญชาติแก่รัฐไทย โดยได้มีการรวมตัวกันต่อสู้เรียกร้องทั้งการรวมกลุ่มกันเรียกร้อง เช่น กลุ่มผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน อันเกิดจากปัญหาข้อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่มีความชัดเจนและชาวบ้านยังไม่มีความเข้าใจในข้อกฎหมายและวิธีปฏิบัติอย่างเพียงพอ  โดยกลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน  ในพื้นที่ดังกล่าวมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การที่ชาวบ้านเป็นคนลาวอพยพในช่วงสมัยสงครามกลางเมืองลาว  การไม่ได้ไปแจ้งเกิด เป็นต้น ประกอบกับเป็นพื้นที่ชายแดนที่ชาวบ้านอาศัยมาหลายสิบปีและบางคนได้เกิดในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย
ผู้วิจัยจึงเห็นว่าสภาพปัญหาและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาและความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้ในอนาคต รวมถึงเป็นแนวทางให้รัฐไทยและเจ้าหน้าที่สามารถที่จะช่วยเหลือผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนให้ได้รับสัญชาติไทยได้ในอนาคต
1.2 คำถามการวิจัย
                         กระบวนการให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนมีลักษณะอย่างไร
      คำถามย่อย
                         กฎหมายไทยในเรื่องสัญชาติมีลักษณะอย่างไร
                         ขั้นตอนปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย มีลักษณะอย่างไร

1.3 วัตถุประสงค์
          1.3.1 เพื่อทราบถึงหลักเกณฑ์และกระบวนการให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย
                         1.3.2 เพื่อทราบถึงผลดีผลเสียในแนวทางการได้มาซึ่งสัญชาติไทย

1.4 ขอบเขตการวิจัย
                         ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตในการวิจัยไว้ดังนี้

1.5 พื้นที่เป้าหมาย
                         1.5.1 ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี


 บทที่ 2

แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

2.1 ทบทวนวรรณกรรม

                เมื่อได้มีการก่อตั้งองค์กรสหประชาชาติขึ้นแล้ว กฎบัตรสหประชาชาติก็ได้ย้ำถึง เจตนารมณ์ขององค์การสหประชาชาติ ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้ แห่ง ๆ แรกปรากฏในคำปรารภ อีก แห่งปรากฏในมาตรา 1, 13, 55, 56, 62, 68

ต่อมาสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 เพื่อแสดงเจตน์จำนงค์อันแน่วแน่ ของบรรดาประเทศสมาชิกขององค์กรสหประชาชาติ ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เกิดผลอย่างจริงตาม เจตนารมณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และเพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับบรรดาประเทศสมาชิกที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดผลภายในประเทศของตน
อนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีคำจำกัดความแน่นอน ในทางกฎหมายระหว่างประเทศว่า สิทธิมนุษยชนคืออะไร ดังจะเห็นได้จากกฎบัตรสหประชาชาติ อันเป็นที่มาของการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ก็มิได้ให้คำจำกัดความของคำว่า สิทธิมนุษยชน ไว้แต่อย่างใด ตลอดจนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และบรรดาข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย ทั้งในระดับภูมิภาค อาทิของสภายุโรป (ปัจจุบันคือสหภาพยุโรปในระดับนานาชาติที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.. 1989, อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติสตรีทุกรูปแบบ ค.. 1979 ฯลฯ ก็มิได้ ให้คำจำกัดความของคำว่า สิทธิมนุษยชนไว้ เช่นกัน
ดังนั้น คำว่าสิทธิมนุษยชนจึงมีความหมายในทางทฤษฎีหรือทางปรัชญา ปัจจุบันในทางปฏิบัติ จึงยังอยู่กับสถานการณ์ภายในประเทศ อาทิ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา ระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจการเมือง การปกครอง ฯลฯ ที่จะนำไปสู่ขึ้นอยู่กับการตีความ ความเข้าใจ การยอมรับความจริงใจของแต่ละประเทศที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศของตน และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง สหประชาชาติจึงมิได้ให้คำจำกัดความคำว่าสิทธิมนุษยชนไว้ เพราะเป็นการยากยิ่งที่จะกระทำเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สถานการณ์ต่างๆ ของโลกได้เปลี่ยนแปลงไป
คำจำกัดความคำว่าสิทธินุษยชน อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อให้สอดคล้องกัน ดังเช่นในอดีตมีความคิดเพียงว่าสิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิของพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (Civil and Political Rights) เท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ยอมรับว่า สิทธิมนุษยชน หมายความถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Economic, Social and Cultural Rights) ด้วยเป็นต้น
การให้คำจำกัดความจึงน่าจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะในทางปฏิบัติที่แล้วมา สหประชาชาติได้เคยประสบปัญหาในการใช้มาตรการด้านกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบางประเทศก็ได้ถูกโต้แย้งว่า กรณีดังกล่าวไม่อยู่ในขอบข่ายของสิทธิมนุษยชนมาแล้ว ฉะนั้นสหประชาชาติจึงได้ใช้มาตรการส่งเสริมมนุษยชนในประเทศของตน ตามมาตรฐานกลางที่กำหนดขึ้นในรูปแบบของข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวข้างต้น โดยไม่จำต้องให้คำจำกัดความคำว่าสิทธิมนุษยชนไว้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี เป็นที่ยอมรับกันในทางทฤษฎีว่า คำว่าสิทธิมนุษยชนนั้น มีที่มาจากแนวความคิดอุดมคติเก่าแก่ของทางตะวันตกในเรื่องกฎหมายตามธรรมชาติ (Natural law) ซึ่งหมายถึงกฎหมายที่มีลักษณะสำคัญ ประการคือ เป็นกฎหมาย ที่ใช้ได้ไม่จำกัดเวลา ใช้ได้ทุกหนแห่งไม่จำกัดว่าต้องใช้ในรัฐใดรัฐหนึ่ง และอยู่เหนือกฎหมายของรัฐ คือ รัฐจะออกกฎหมายมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายตามธรรมชาติมิได้ ทฤษฎีกฎหมายตามธรรมชาติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงหลักแห่งธรรม ความยุติธรรมและความถูกต้องนั่นเอง
อนึ่ง สิทธิมนุษยชนก็ได้มีที่มาจากแนวความคิดอุดมคติเก่าแก่ของทางตะวันตกในเรื่องสิทธิตามธรรมชาติด้วย ซึ่งหมายถึงความคิดที่ว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน และพระเจ้าซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์มาได้ให้สิทธิบางอย่างแก่มนุษย์ สิ่งเหล่านี้ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ และไม่มีใครจะล่วงละเมิดได้ เช่น สิทธิในชีวิตเสรีภาพ และสิทธิที่จะหาความสุข และรัฐทั้งหลายจะต้องกระทำทุกอย่างเพื่อให้มนุษย์มีสิทธิเหล่านี้อย่างเต็มที่ วิธีการเช่นนี้ทำให้มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่ใช้เหตุผลยอมรับว่าเป็นหลักการที่ดี และเชื่อว่าจะทำให้มนุษย์อยู่ในสังคมอย่างสันติ และมีความสุข
จากความคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาติและสิทธิทางธรรมชาตินี้เอง ได้วิวัฒนาการมาสู่การจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในที่สุด และการให้คำอธิบายถึงคำว่าสิทธิมนุษยชนก็คงต้องอธิบายจากความคิดในเรื่องกฎหมายตามธรรมชาติและสิทธิตามธรรมชาตินี้เอง
เมื่อได้มีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ได้มีความร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อพัฒนาบรรดามาตรการและกลไกทั้งในประเทศ และกลไกระดับนานาชาติให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ดำเนินไปอย่างมีไปอย่างมีระบบในมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ ผิว ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม หรือสิทธิทางการเมืองการปกครอง ฯลฯ
สำหรับทางด้านองค์กรสหประชาชาตินั้น ก็ได้ดำเนินการให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามหลักการที่บัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในหลายด้าน เช่น การจัดทำอนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อนำหลักการของปฏิญญาฯ มาดำเนินการให้สิทธิมนุษยชนได้มีผลเป็นสิทธิตามกฎหมายอย่างเป็นระบบ และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำอนุสัญญาว่า ด้วยสิทธิเด็ก ค.. 1989 อนุสัญญาด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ค.. 1979 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(International Covenant on Civil and Political Rights) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic Social and Cultural Rights)ซึ่งถือเป็นผลงานที่สำคัญยิ่งและวางรากฐานที่มั่นคง สำหรับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระยะไกล การจัดประชุมหรือสัมมนาระดับภูมิภาคหรือระดับโลก เพื่อแสวงหาความร่วมมือด้านสิทธิจากนานาชาติในอันที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดนโยบาย และแผนปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีระบบและสอดคล้องกัน แล้วจัดทำเป็นปฏิญญาหรือการแถลงการณ์ร่วมกัน เช่น การประชุมระดับโลก เรื่องที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย หรือการประชุมที่กรุงปักกิ่ง เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนั้น สหประชาชาติยังได้เข้าไปมีบทบาทโดยตรงและต่อเนื่องเพื่อดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการยุติเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป เอเซีย กลุ่มลาตินอเมริกาและในอาฟริกา เช่น เหตุการณ์รุนแรงที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในบอสเนียเฮอร์เซโกวีน่า โดยใช้มาตรการทางการทูต ทางเศรษฐกิจหรือทางทหาร เพื่อจัดการกับปัญหาความรุนแรงดังกล่าว รวมทั้งการจัดตั้งศาลอาชญากรสงครามเพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้มีส่วนร่วมในการกระทำผิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เช่นเหตุการณ์ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า ในประเทศรวันดา รวมทั้งผู้นำกลุ่มเขมรแดงที่ได้ถูกกล่าวหาว่าทำการทารุณกรรฆ่าประชาชนเขมรเป็นจำนวนนับล้านคนในสมัยที่มีอำนาจปกครองประเทศ เป็นต้น ฯลฯ
จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น ได้ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกที และหลายครั้งได้ถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อต่อรองทางการเมือง ในการพิจารณาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตหรือทางการค้ากับประเทศที่ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศของตน ดังเช่น กรณีของสหภาพยุโรป ไม่ยอมให้ผู้นำพม่าเดิมเข้าประเทศตน หรือไม่ซื้อหาสินค้าจากประเทศหลายประเทศในเอเซียที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานเด็กขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเป็นต้น ฯลฯ
ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้น ในปัจจุบันรัฐใดรัฐหนึ่งไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่า เป็นเรื่องที่ตกอยู่เขตอำนาจภายในของรัฐของตนโดยเด็ดขาดเหมือนแต่ก่อนแต่ได้วิวัฒนาการมาเป็นสิทธิระหว่างประเทศ (International Rights) ซึ่งรัฐที่เป็นภาคีแห่งข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน อาจอ้างข้อตกลงนั้น ๆ เข้ามาตรวจสอบ หรือมีมติให้ใช้มาตราการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนอันเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ประเทศไทยกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

สำหรับประเทศไทยนั้น ได้ร่วมลงมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ต้น แม้ปฏิญญาสากลดังกล่าวจะมิได้มีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ อันจะก่อให้เกิดพันธะกรณีตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศก็ตาม ประเทศไทยก็ได้พยายามปฏิบัติการให้เป็นไปตามหลักกฎหมายพื้นฐานที่กำหนดไว้ในปฏิญญาดังกล่าวด้วยดีตลอดมา เช่น
1. การพัฒนากลไกภายในประเทศ
ประเทศไทยได้พยายามพัฒนากลไก เช่น กฎหมายในประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น อาทิ
q    เมื่อปี พ.. 2519 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพครั้งสำคัญเพื่อรับรองสิทธิของหญิงให้เท่าเทียมกับชาย
q    การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการค้าประเวณี พ.. 2540 และพระราชบัญญัติการค้าเด็กและสตรี พ.. 2540
q    การประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.. 2542
q    การยกเลิกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ห้ามสตรีดำรงตำแหน่งข้าราชการบางตำแหน่ง
q    การแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษให้มีสภาวะดีขึ้น
q    การประกาศใช้พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.. 2526ฯลฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ซึ่งนับเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้มาจากการร่างอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางมากที่สุดเท่าที่เคยมีการยกร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทย
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติที่คุ้มครองในหมวดที่ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และในหมวดที่ ว่าด้วยศาลไว้อย่างก้าวหน้าทันสมัย มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับมาตรฐานของสหประชาชาติที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวแล้วข้างต้น นอกจากนั้น มีหลายเรื่องไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนมาของไทย เช่น
(1) การกำหนดแนวทางในการใช้อำนาจรัฐ เช่น การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (มาตรา 26) หรือสิทธิและเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้งโดยปริยาย หรือโดยการวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ยอมรับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภาคณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐโดย ตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง (มาตรา 27) หรือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ต้องกระทำโดยกฎหมาย แต่จะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นไม่ได้ (มาตรา 29วรรคแรกฯลฯ
(2) การกำหนดขั้นตอนและวิธีการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลได้ (มาตรา 28 วรรคสองสิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอันเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองสิทธิและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ (มาตรา 56) สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน (มาตรา 60) สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร(มาตรา 61) สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเมิดการกระทำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานนั้น (มาตรา 62)
(3) การจัดตั้งกลไกใหม่เพื่อสอดส่อง ตรวจสอบและวินิจฉัยกรณีที่มีหรือ อาจมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐ (มาตรา 196 - 198) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 199 - 200) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(มาตรา 297 - 311) ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 255 - 270) ศาลปกครอง (มาตรา 276 - 280) เป็นต้น ฯลฯ
2. การร่วมมือระหว่างประเทศ
ทางด้านต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้ให้ความสนใจในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ อันเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนทั้งโดยอ้อมหรือโดยตรงหลายฉบับ อาทิ
2.1 ด้านสิทธิมนุษยชนโดยอ้อม ได้แก่ข้อตกลงระหว่างประเทศทางด้านมนุษยธรรมคือ อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น ค.. 1949 อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเล ซึ่งบาดเจ็บป่วยไข้ และเรือต้องอับปางมีสภาวะดีขึ้น ค.. 1949อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ค.. 1949 อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเมืองในเวลาสงคราม ค.. 1949
2.2 ด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางการเมืองของสตรี ค.. 1952อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ค.. 1979 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.. 1985 อนุสัญญาภายใต้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ 11 ฉบับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.. 1966 ซึ่งเข้าเป็นภาคีมีผลทางกฎหมายเมื่อ วันที่ 29 มกราคม2540 และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ค.. 1966 ของสหประชาชาติซึ่งมีผลตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ธันวาคม 2542 ด้วยแล้ว
อนึ่ง ยังมีข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับ ที่ประเทศไทย ยังมิได้เข้าเป็นภาคี อาทิ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำอื่น ๆ ที่ไร้มนุษยธรรมอย่างป่าเถื่อน หรือการลงโทษที่เหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Convention Against Torture and Other Cruel Inhuman or Degarding Treatment or Punishment - CAT) เป็นต้น ฯลฯ
2.3 แนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศอันเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา (รับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2529)ปฏิญญาแห่งเวียนนาและแผนปฏิบัติการ (รับรองเมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน ค.. 1993) ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาแห่งโลกว่าด้วยการอยู่รอดของเด็ก การปกป้องและการพัฒนาเด็ก (World Declaration on the Survival Protection and Development of Children) ฯลฯ

การจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน

จากข้อเท็จจริงดังได้กล่าวแล้วในข้อ ก ข จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้มีความสำคัญมากขึ้นตลอดเวลา และประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อบทบาทด้านนี้ โดยดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจตามสมควร และภาครัฐและภาคเอกชนต่างร่วมมือกัน ในการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา



บทที่ 3
ระเบียบวิธีการวิจัย 

การวิจัยเรื่อง ศึกษาการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นประเภทของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปของการสัมภาษณ์เชิงลึก  (In-dept Interview และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อใช้ในการยืนยันข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และเพื่อใช้อภิปรายผลการวิจัยที่กล่าวมาแล้วให้มีความชัดเจนและมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ขอบเขตการวิจัย  การวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาวิจัยเฉพาะกลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ในพื้นที่ศึกษา ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร  จังหวัดอุบลราชธานี 
กลุ่มบุคลเป้าหมาย หมายถึง กลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน  ในพื้นที่ศึกษาในทุกช่วงวัย  ทีมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสอทธิต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย
                ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ  (การสัมภาษณ์เชิงลึก) กลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนและมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
   มกราคม – ธันวาคม 2558 (ระยะเวลา 1 ปี)
3.5 เครื่องมือที่ใช้การศึกษาวิจัย (Instruments)
การตรวจสอบเครื่องมือ
กรณีการตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) จะใช้วิธีการตรวจสอบด้วยการหาค่าCoefficient Alpha โดยวิธีการของ Conbrach จากแบบสอบถามที่ได้นำไปทดสอบกับกลุ่มประชากรทดลองมาแล้ว ทั้งเป็นรายข้อ และทั้งเป็นชุดหรือเป็นแบบแผน (Pattern)
นอกจากนั้นแล้วยังจะหาค่าความเที่ยงโดยการทดสอบทางสถิติแบบ Factor Analysis จากแบบสอบถาม เพื่อคัดเลือกเอาข้อคำถามที่ดี ที่มีค่าน้ำหนัก (Factor loading) ตั้งแต่ .80 ขึ้นไป เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลจริงต่อไป
 กรณีการตรวจสอบความตรง จะใช้วิธีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน   จำนวน 3-5ท่านทำการตรวจสอบ ปรับปรุงและแก้ไขข้อคำถาม ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรทดลองมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง
                    สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
                         จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ศึกษา ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนจำนวนมากโดยแบ่งผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้จำนวน 4กลุ่มด้วยกันดังนี้
                         1. ผู้ที่ตกสำรวจ คือ กลุ่มบุคคลที่มีถิ่นฐาน มีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นคนที่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ไม่ได้เข้าร่วมการสำรวจทางทะเบียนราษฏรเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๙๐  บุคคลกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นบุคคลผู้สูงอายุ
                         2. ผู้อพยพ (ลาวอพยพ) คือ กลุ่มบุคคลที่มีถิ่นฐานเดิมในประเทศเพื่อนบ้านและหนีภัยสงครามเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันยังไม่ได้รับการรับรองทางทะเบียนจากรัฐใดในโลก
                         3. ผู้ที่ไม่ได้แจ้งเกิดตามกฎหมาย คือ กลุ่มบุคคลที่มีพ่อหรือแม่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย แต่ไม่ได้แจ้งเกิดตามกฎหมายไทย
                         4. คนไร้รากเหง้า คือ กลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบแหล่งที่เกิดหรือที่อยู่อาศัยเดิมของบรรพบุรุษ หรือไม่สามารถระบุตัวตนของพ่อและแม่ได้แต่อย่างใด
จากปัญหาของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนในพื้นที่ ทำให้เกิดกลุ่มเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยและสิทธิต่างๆที่ควรได้รับตามกฎหมาย เมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลผสานกับการวิเคราะห์บริบทของปัญหาร่วมกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องพบว่า บุคคลทั้ง4 กลุ่มมีความต้องการสัญชาติไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ อาทิเช่น สิทธิการอยู่อาศัยในประเทศไทย สิทธิการเข้ารับการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิการประกอบอาชีพ เป็นต้น จึงได้มีการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาสู่ภาครัฐและแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งในเชิงประเด็นข้อกฎหมายและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ จากการศึกษาผู้วิจัยจึงจัดทำข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้ เห็นว่ารัฐไทยควรเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาไม่มีสถานะทางทะเบียนได้มีพื้นที่ในการนำเสนอปัญหาข้อเสนอแนะ และรัฐไทยควรรับฟังและมีกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ โดยจัดให้มีกระบวนพิสูจน์สัญชาติที่ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนเข้าถึงได้อย่างสะดวกและไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใดๆ และผลักดันให้มีกฎหมายรองรับผู้ที่อาศัยในประเทศไทยเป้นเวลานานแล้วได้รับสัญชาติไทย ส่วนกลุ่มบุคคลที่ยังไม่สามารถพิจารณาให้สัญชาติไทยได้ในระยะเวลานี้ รัฐไทยจะต้องให้การคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนและให้บุตรหลานมีโอกาสเข้ารับการศึกษา และการรักษาพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ รวมถึงชะลอการส่งตัวบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติใดๆในโลกนี้ได้ไปยังประเทศใดประเทศหนึ่ง


บรรณานุกรม

หนังสือ
กฤตยา อาชวนิจกุล.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร,คำถามและข้อท้าทายต่อนโยบายรัฐไทยในการ
จัดการปัญหามิติสุขภาวะและสิทธิของแรงงานข้ามชาติ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลนครปฐม 2548. 
ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว, คนไร้รัฐไร้สัญชาติในรัฐไทย,กรุงเทพฯ ,2550 
สันติพงษ์ มูลฟอง. วันเด็กไร้สัญชาติหลักประกันสุขภาพคนไร้สิทธิ.คณะทำงานวันเด็กไร้
สัญชาติ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ภายใต้สมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน, 2550.   

บทความ   บทความจากหนังสือ/วารสาร/ เอกสารอัดสำเนา
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, จริยธรรมและกฎหมายในการให้บริการสุขภาพประชากรต่างชาติเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการการบริการสาธารณสุขในประชากรต่างด้าว ครั้งที่ 1 Healthy Migrants - Healthy Thailand ระหว่างวันที่ 5-7กรกฎาคม พ.ศ.2549 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานครจัดโดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ PATH, IRC,มูลนิธิรักษ์ไทย และ IOM.(วันที่ กรกฎาคม พ.ศ.2549)http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=313&d_id=312 
เตือนใจ ดีเทศน์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร,ชลฤทัย แก้วรุ่งเรืองและภาสกร จำลองราช, การยกร่างกฎหมายรับรองสิทธิเข้าสู่บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานของบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล : แนวคิดที่ควรทำให้เป็นจริงในสังคมไทย, (วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2550).
จิตติมา  ผลเสวก, ผู้หญิงที่ไม่ได้กลับบ้านสาละวินโพสต์ ฉบับที่ 40 วันที่ กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550, คอลัมน์ บันทึการการเดินทางหน้า 3.
อดิศร เกิดมงคล International Rescue Committee (IRC).นโยบายจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ
ปี 51: สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต, 2551


บทความจากเว็บไซต์
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, คุณชลฤทัยแจ้งมาว่าน้องออยล์ สุพัตรา ซอหริ่ง ปลอดภัยแล้วค่ะ แต่ยังต้องให้ออกซิเจน: กระทู้เพื่อเล่าเรื่องของน้องออยล์ให้สังคมได้รับรู้ ,http://www.archanwell.org/newwebboard/main.php?board=000235&topboard=1 (วันที่ 19มีนาคม พ.ศ. 2549)
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร,กรณีของน้องออย สุพัตรา ซอหริ่ง  : การต่อสู้ครั้งใหม่ของแม่และป้าซึ่งเป็นอดีตคนไร้สัญชาติเพื่อลูกและหลานน้อยที่ยังไร้สัญชาติ,http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=290&d_id=289 (วันที่ 7พฤษภาคม พ.ศ.2549)
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น